มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์อดีตประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา รักษาการนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เป็นผู้ก่อตั้งสำนักงานกฎหมายมีชัย ฤชุพันธุ์ และตอบข้อสงสัยด้านกฎหมาย และการเมือง ทาง เว็บไซต์มีชัยไทยแลนด์ สมรสกับคุณหญิงอัมพร (เสนีวงศ์ ณ อยุธยา) ฤชุพันธ์ุ (ถึงแก่อนิจกรรม) มีบุตร 2 คน คือ นางมยุระ ช่วงโชติ และ นางมธุรส โลจายะ
หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พลเอกสุจินดา คราประยูร ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 ในขณะนั้น ได้รับการคัดเลือกจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี จึงทำให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งประมุขของทั้งฝ่ายบริหาร (รักษาการนายกรัฐมนตรี) และฝ่ายนิติบัญญัติ (ประธานรัฐสภา)
นายมีชัย เริ่มรับราชการที่สำนักงาน ก.พ. และมาใช้ทุนรัฐบาลที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จนได้เป็นผู้อำนวยการกองยกร่างกฎหมายคนแรกของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และก้าวหน้าในราชการเรื่อยมาจนได้รับตำแหน่งกรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาเชี่ยวชาญและนักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ)สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ต่อมา ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ในรัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์, หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช, ธานินทร์ กรัยวิเชียร และพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในพ.ศ. 2517- 2518 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษากฎหมายสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ระหว่าง พ.ศ. 2523 - 2531 และรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ระหว่าง พ.ศ. 2531 - 2533 และดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน และรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร ระหว่าง พ.ศ. 2534 - 2535
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2 สมัย คือ ระหว่าง พ.ศ. 2520 - 2522 และระหว่าง พ.ศ. 2532 - 2534 และดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา 3 สมัย ระหว่าง พ.ศ. 2526 - 2532, พ.ศ. 2535 - 2539 และ พ.ศ. 2539 - 2543 โดยได้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา 2 สมัย และประธานรัฐสภา
นายมีชัย เป็นผู้ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2534 เพื่อจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. เพื่อดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ อันเป็นที่มาของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ในเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 นายมีชัยเป็นที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฝ่ายกฎหมาย มีบทบาทในการร่างแถลงการณ์ประกาศ และคำสั่ง คปค. หลายฉบับ และร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ร่วมกับนายวิษณุ เครืองาม และนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถอนตัวออกไปหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เนื่องจากถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาทการทำงานในอดีต
นอกจากนี้ นายมีชัย ยังได้ดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2551 และเป็นกรรมการสำคัญๆอีกหลายตำแหน่ง เช่น ประธานกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 1 (กฎหมายการเมืองการปกครอง) โดยได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 ถึงปัจจุบัน ประธานคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ....ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการสาขากฎหมายบริหารปกครอง ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ปะธานอนุกรรมการสาขากฎหมายล้มละลาย ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการพิจารณาการปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการพิจารณาการปรับปรุงค่าตอบแทนสำหรับคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการพิจารณายกเลิกกฎหมาย ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ กรรมการจัดทำพจนานุกรมทางกฎหมาย ราชบัณฑิตยสภา กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ
ปี 2550 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาตั้งฉายานายมีชัย ฤชุพันธุ์ ว่า ซีอีโอ สนช. เนื่องจากสามารถลำเลียงกฎหมายที่รัฐบาลและคมช.ต้องการเข้าสู่ที่ประชุมได้อย่างไม่บกพร่อง และใช้ความเด็ดขาดในการควบคุมการประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาความขัดแย้งและความแตกแยกระหว่างสนช.กลุ่มต่างๆได้เป็นอย่างดี ทำให้สมาชิกมีความยำเกรงในตัวนายมีชัย ราวกับพนักงานบริษัทที่เกรงอกเกรงใจซีอีโอของบริษัท
นอกจากนี้ยังได้รับฉายา คู่กัดแห่งปี ระหว่างนายมีชัย กับ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ เนื่องจากเป็นคู่แข่งชิงตำแหน่งประธานสนช. หลังจากนั้นก็มีความขัดแย้งมาตลอด กฎหมายที่นายมีชัยหนุนจะถูก น.ต.ประสงค์คัดค้านอย่างที่สุด เช่น ร่างพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือพ.ร.บ.มหาวิทยาลัยออกนอกระบบทั้งหลาย และในช่วงทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ การประชุมไหนมีน.ต.ประสงค์ก็จะไม่มีนายมีชัย และถ้านายมีชัยเข้าประชุม ก็จะไม่มีน.ต.ประสงค์ ปี 2558 เขารับตำแหน่งเป็น ประธานกรรมการบริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน)
มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ • พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) • แสวง เสนาณรงค์ • มนูญ บริสุทธิ์ • สุรินทร์ มาศดิตถ์ • บุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ • ปรีดา พัฒนถาบุตร • นิพนธ์ ศศิธร • ชวน หลีกภัย • นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ • ดุสิต ศิริวรรณ • บุญเรือน บัวจรูญ • สมพร บุญยคุปต์ • ถวิล รายนานนท์ • บุญยง วัฒนพงศ์ • สวัสดิ์ คำประกอบ • เฉลิมชัย จารุวัสตร์ • สิทธิ เศวตศิลา • เกษม จาติกวณิช • ปรีดา กรรณสูต • ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา • ประมวล กุลมาตย์ • พร ธนะภูมิ • ดำริ น้อยมณี • สมศักดิ์ ชูโต • มีชัย ฤชุพันธุ์ • ชาญ อังศุโชติ • พล เริงประเสริฐวิทย์ • สุตสาย หัสดิน • ศุลี มหาสันทนะ • ชาญ มนูธรรม • กระมล ทองธรรมชาติ • ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ • บัญญัติ บรรทัดฐาน • จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา • อำนวย สุวรรณคีรี • วิชิต แสงทอง • อรุณ ภาณุพงศ์ • บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ • กร ทัพพะรังสี • อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ • เฉลิม อยู่บำรุง • ประสงค์ บูรณ์พงศ์ • สรอรรถ กลิ่นประทุม • สอาด ปิยวรรณ • กร ทัพพะรังสี • หาญ ลีนานนท์ • จำรัส มังคลารัตน์ • หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี • ไพจิตร เอื้อทวีกุล • มีชัย วีระไวทยะ • สายสุรี จุติกุล • ใหม่ ศิรินวกุล • ชัชวาลย์ ชมภูแดง • สุชน ชามพูนท • วัฒนา อัศวเหม • ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ • ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ • ทินพันธุ์ นาคะตะ • เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ • สาวิตต์ โพธิวิหค • สุรศักดิ์ เทียมประเสริฐ • ชินวุธ สุนทรสีมะ • พิมพา จันทร์ประสงค์ • ปัญจะ เกสรทอง • ปองพล อดิเรกสาร • เรืองวิทย์ ลิกค์ • จรัส พั้วช่วย • รักเกียรติ สุขธนะ • โภคิน พลกุล • บุญพันธ์ แขวัฒนะ • ฉัตรชัย เอียสกุล • ชิงชัย มงคลธรรม • วีระกร คำประกอบ • สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ • เกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ • สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ • ภูษณ ปรีย์มาโนช • พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ • สุพัตรา มาศดิตถ์ • สาวิตต์ โพธิวิหค • จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ • อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ • สมบุญ ระหงษ์ • ไชยยศ สะสมทรัพย์ • พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ • ปวีณา หงสกุล • ภิญโญ นิโรจน์ • อดิศัย โพธารามิก • จาตุรนต์ ฉายแสง • ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา • สมศักดิ์ เทพสุทิน • กระแส ชนะวงศ์ • พงศ์เทพ เทพกาญจนา • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • สุรนันทน์ เวชชาชีวะ • เนวิน ชิดชอบ • ทิพาวดี เมฆสวรรค์ • ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ • ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล • ชูศักดิ์ ศิรินิล • จักรภพ เพ็ญแข • สุขุมพงศ์ โง่นคำ • สุพล ฟองงาม • สาทิตย์ วงศ์หนองเตย • วีระชัย วีระเมธีกุล • องอาจ คล้ามไพบูลย์ • สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ • กฤษณา สีหลักษณ์ • วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล • นลินี ทวีสิน • นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล • วราเทพ รัตนากร • ศันสนีย์ นาคพงศ์ • สันติ พร้อมพัฒน์ • หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล • สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ